วีดีโอในโครงการ
โครงการทำความสะอาดทะเลและชายฝั่ง
(SUZUKI CLEAN OCEAN PROJECT)
โครงการ “CLEAN OCEAN” ภายใต้ชื่ออันเป็นที่รู้จักอันแพร่หลาย “ULTIMATE OUTBOARD MOTOR” ซูซูกิได้ให้ความสำคัญกับทรัพยากร
ทางทะเลอันดีที่สุดในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางทะเลอย่างเป็นที่สุด ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 ซึ่งเราริเริ่มการรณรงค์อาสาสมัครการทำความสะอาดชายทะเล
เพื่อช่วยให้สภาพแวดล้อม และทรัพยากรทางทะเลมีสภาพที่ดีขึ้น โดยมีอาสาสมัครกว่า 9,000 คน ในประเทศญี่ปุ๋น ซึ่งแคมเปญดังกล่าวได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมในหัวข้อ “Plastic Smart Campaign” เพื่อให้ความพยายามในการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ถึงเวลาแล้วที่เราจะทบทวนว่าเราได้มีส่วนร่วมในสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างไร และเพื่อกำหนดทิศทางใหม่ของเรา นอกจากการการรณรงค์อาสาสมัครการทำความสะอาดชายทะเลอย่างต่อเนื่องแล้ว เรายังมุ่งมั่นที่จะดำเนินการอย่างมีความรับผิดชอบต่อปัญหาขยะพลาสติก สิ่งนี้เป็นเหตุผลที่เราสร้างสโลแกนและโลโก้ใหม่ ภายใต้ชื่อ “SUZUKI CLEAN OCEAN PROJECT” เพื่อแสดงให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความมุ่งมั่นของเรา และเราเชื่อว่ากิจกรรมของเราที่ดำเนินการทั่วโลกนี้จะเป็นก้าวที่นำไปส-ู่สภาพแวดล้อมทางทะเลที่่สะอาดขึ้นและทรัพยากรที่ดีขึ้นกิจกรรมและความมุ่งมั่นของซูซูกิ
พันธกิจ ทั้ง 3 ประการ มีดังนี้
1) กิจกรรม Clean-Up the World
2) ลดบรรจุภัณฑ์พลาสติก
3) อุปกรณ์เก็บไมโครพลาสติกในทะเล
การมีส่วนร่วมในโครงการของบริษัท ไทยซูซูกิมอเตอร์ จำกัด
1. กิจกรรมเก็บขยะริมชายหาด (Clean up the world Campaign)
ข้อมูล ณ วันที่ 5 มิถุนายน 2567 สถานที่ ตำบลบางฉลอง จังหวัดภูเก็ต
ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2567 สถานที่ ตำบลบางแสน จังหวัดชลบุรี
ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2567 สถานที่ ตำบลบึงยี่โถ จังหวัดปทุมธานี
ข้อมูล ณ วันที่ 01 พฤศจิกายน 2566 สถานที่ ตำบลแสมสาร จังหวัดชลบุรี
ข้อมูล ณ วันที่ 07 ตุลาคม 2566 สถานที่ริมชายหาดนพรัตน์ธารา จังหวัดกระบี่
ข้อมูล ณ วันที่ 07 ตุลาคม 2565 สถานที่ริมชายหาดบางศิลา จังหวัดสตูล
ข้อมูล ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 สถานที่ริมชายหาดพัทยา จังหวัด ชลบุรี
ข้อมูล ณ วันที่ 09 ตุลาคม 2562 สถานที่ หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดระยอง
2. การลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก (Reduce plastic Packaging)
การปรันปรุงบรรจุภัณฑ์เพื่อลดการใช้พลาสติก
3. กิจกรรมการทดสอบอุปกรณ์กรองดักเศษพลาสติกในทะเล (Micro Plastic Device)
การทดสอบและติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว ร่วมกับเรือของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในปี 2564 ณ จังหวัดกระบี่